ประวัติเครื่องพิมพ์ชื่อดัง HP, Brother, Epson และ Ricoh

Last updated: 1 มี.ค. 2566  |  331 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปริ้นเตอร์ ประวัติ

ถ้าพูดถึงชื่อแบรนด์เหล่านี้ เรียกได้ว่าไม่มีใครไม่รู้จักแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น HP, Brother, Epson, Canon และ Ricoh ที่เค้าเด่นทั้งเรื่อง Printer หมึกพิมพ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย และอย่างที่หลาย ๆ คนรู้กันว่าแบรนด์เหล่านี้มีการก่อตั้งที่ยาวนานแล้ว แต่รู้ไหมว่าเขามีจุดเริ่มต้นยังไง ก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อไหร่ และเริ่มเข้ามาทำตลาดที่ไทยนานหรือยัง วันนี้ Earth Shop จะพาไปค้นหาคำตอบกัน

เครื่องปริ้น hp

ประวัติของ HP

HP ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ในปี 1939 เลยทีเดียว ซึ่งจุดเริ่มต้นมาจาก culture ในอเมริกายุค 1930s มีการใช้ sound film (talkies) และ วิทยุเป็นหลัก ซึ่งมีเรื่องของสัญญาณ electronic เข้ามาเกี่ยวข้อง และจุดนี้เองเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับ Bill Hewlett และ Dave Packard ซึ่งเขาทั้งสองก็กลายมาเป็นเพื่ออนกัน และก็ได้ทำงาน part-time ด้วยกันที่โรงรถแห่งงหนึ่ง ซึ่งเครื่องประดิษฐ์ชิ้นแรกที่เขาทั้ง 2 ช่วยกันคิดค้นขึ้น คือ ออสซิลเลเตอร์ (HP Model 200A) ต่อมาเขาก็ได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นในช่วง 1940s เมื่อเข้าสู่ช่วง 1950s อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้แผ่เป็นวงกว้างขึ้น  และช่วงปลาย 1960s HP ก็ได้มีการผลิต Personal Computer หรือ PC เครื่องแรกขึ้นในปี 1968

จนกระทั่งปี 1984 HP ได้ออกผลิตภัณฑ์ HP LaserJet เครื่องแรกขึ้นมา และ 1991 HP ก็ได้ผลิตหมึกพิมพ์ที่ราคาเข้าถึงได้อย่าง HP DeskJet 500C ถัดมาในปี 1994 HP ก็ได้ผลิตเครื่องปริ้น all-in-one สำหรับใช้ในสำนักงานขึ้นมา นั้นก็คือ HP OfficeJet ซึ่งถือได้ว่าทั้ง HP LaserJet, HP DeskJet และ HP OfficeJet ยังคงได้รับความนิยมจนถึงทุกวันนี้

เครื่องปริ้น brother

ประวัติของ Brother

เรียกได้ว่า Brother ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลานานเช่นเดียวกัน ตั้งแต่ในปี 1908 โดยในช่วงแรกเป็นการผลิตจักรเย็บผ้าขึ้นมา จนมาในช่วงปี 1958 ได้มีการขยายตัวไปยังธุรกิจอื่น ๆ จากจักรเย็บผ้า ไปสู่เครื่องทอ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จนมาในช่วงปี 1971-1989 หรือที่เรียกว่าเป็นยุคหุ่นยนต์ไฟฟ้า โดยเริ่มจากในปี 1971 มีการเปิดตัวเครื่องพิมพ์ดอตเมทริกซ์ความเร็วสูงเครื่องแรกของโลก ถัดมาในปี 1980 ทาง Brother ได้มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าขึ้น หลังงจากนั้นก็ได้มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ระบบการพิมพ์ฉลาก ขึ้นอีกด้วย และในปี 1987 เอง Brother ทำการผลิตเครื่องโทรสารขึ้นมา โดยในปี 1992 ถือว่าเป็นการต่อยอดเครื่องโทรสาร และยกระดับขึ้นไปอีกขั้น เพราะถือได้ว่า Brother ได้บุกเบิกเรื่อง Multifunction กันเลยทีเดียว ด้วยการเปิดตัวเครื่อง FAX-600

จนมาในปี 1995 ที่ทาง Brother ได้เปิดตัวเครื่องพิมพ์ Multifunction ระบบเลเซอร์ (MFC) เครื่องแรก ที่ทำได้ทั้งเป็นเครื่องพิมพ์ ส่งเอกสาร ถ่ายเอกสาร (print-fax-copy) ซึ่งถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก Brother เลยได้เปิดตัวเครื่องพิมพ์มัลติฟังก์ชันระบบบดิจิทัลอิงค์เจ็ทแบบสี ในลำดับต่อมาอีกด้วย

เครื่องปริ้น Epson

ประวัติของ Epson

เอปสันเริ่มต้นขึ้นในปี 1975 หลังจากที่ทางแบรนด์ได้เปิดตัว EP-101 เครื่องพิมพ์ดิจิทัลเครื่องแรกที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกเมื่อปี 1968 โดยที่มาของชื่อแบรนด์คือมาจาก Ep + Son เนื่องจาก Ep คือมากจากชื่อ EP-101 และ Son เป็นการเพิ่มเข้ามา เหมือนเป็นการแทนคำว่าลูกหลานของเครื่องพิมพ์ในลำดับต่อ ๆ ไป โดยที่ Epson เริ่มเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 1990

มากกว่า 91% ของธุรกิจในประเทศไทยใช้เครื่องพิมพ์ด็อทเมตริกซ์ และ เครื่องพิมพ์ใบเสร็จของเอปสัน และ ในปี 2010 ทาง Epson ก็ได้มีการเปลี่ยนเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทแบบใช้ตลับหมึก มาเป็นเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทระบบแท็งค์หมึก

เครื่องปริ้น Ricoh

ประวัติของ Ricoh

ประวัติของ Ricoh สำหรับ Ricoh นับได้ว่าเป็นอีกแบรนด์หนึ่งที่ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลานาน นั้นคือตั้งแต่ในปี 1936 โดยในปี 1975 Ricoh ก็ได้มีการออก product ที่เป็นเครื่องถ่ายเอกสาร และในปี 1983 ก็ได้มีการออกเครื่องปริ้นเลเซอร์ อย่าง  RICOH LP4120 ขึ้น นอกจากนั้นในปีเดียวกันก็ได้มีการออก RIFAX 1300 สำหรับการส่งเอกสาร และในปี 1985 ก็มีการออกเครื่องถ่ายเอกสารสี แบบ analog เครื่องแรกอย่าง RICOH COLOR 5000 จนกระทั่งในปี 1990 ที่ได้มีการออกเครื่องถ่ายเอกสารสี แบบ digital อย่าง ARTAGE 8000 ซึ่งจนมาถึงปัจจุบันเรียกได้ว่า Ricoh มีรางวัลมากมายที่ได้รับ

อ้างอิง
https://www.hp.com/us-en/shop/tech-takes/history-of-hp
https://www.brother.co.th/th-th/about/history
https://www.epson.co.th/30th-anniversary
https://www.ricoh.com/about/history/2000_2009

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้